วันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2558

Lesson 8

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
(Inclusive Education Experiences Mamagement for Early Childhood)
วัน พฤหัสบดี ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2558
เวลา 13:10 - 16:40 น.

ความรู้ที่ได้รับ



กิจกรรมก่อนเข้าเรียน

- อาจารย์แจกถุงมือคนละข้าง ให้สวมถุงมือข้างที่ไม่ถนัดจากนั้นใช้มือที่ถนัดวาดรูปมือที่อยู่ข้างในถุงมือ ที่อยู่กับเรามาตั้งแต่ในท้อง วาดลายละเอียดให้เหมือนจริงมากที่สุดโดยห้ามเปิดถุงมือออกเด็ดขาด
- กิจกรรมนี้บอก ถึงแม้มือเราจะอยู่กับเรามาตั้งแต่เกิดเราก็ไม่สามารถวาดลายละเอียดได้ชัดเจนถ้าเราไม่ได้มองเห็นของจริง เหมือนการบันทึกพฤติกรรมเด็กเราควรที่จะบันทึกทุกวันมิเช่นนั้นเราอาจจะจำไม่หมดทำให้เราไม่ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนได้และแท้จริง

การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ
ทักษะของครูและทัศนคติ
การฝึกเพิ่มเติม (อบรมระยะสั้น/สัมนา/สื่อต่างๆ)
การเข้าใจภาวะปกติ (เด็กมักคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่าง/รู้จักเด็กแต่ละคน)
ความพร้อมของเด็ก (วุฒิภาวะ/แรงจูงใจ/โอกาส)
การสอนโดยบังเอิญ
- กับเด็กพิเศษสอนโดยบังเอิญสอนตอนที่เด็กเข้ามาหาครู
- เวลาที่เด็กเห็นและถามครู
- สอนโดยที่เด็กทำกิจกรรม เช่น วิทยาศาสตร์
อุปกรณ์
ของเล่นในห้องเรียนรวมไม่ควรแบ่งแยกเพศ
- ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
- แป้งโด/ดินน้ำมัน/บล็อก/ตัวต่อ เป็นต้น
ตารางประจำวัน
- จัดตารางแต่ละวัน 6 กิจกรรมหลัก
- จัดตารางควรที่จะให้เด็กรู้เพื่อที่เด็กจะรู้และมั่นใจในการทำกิจกรรม เพราะเด็กจะทราบแพทเทิน และกล้าที่จะมาโรงเรียน
ความยืดหยุ่น 
- ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน
- แผนสดจะมีเสมอ
- ตัวอย่าง (ถ้าเราให้เด็กพิเศษจับดินสอให้แน่นเราต้องชมการจับดินสอ)
เด็กตักซุป (ย้อยงาน)
- สอนแบบก้าวไปข้างหน้า
- จับช้อน
- ตัก
- ระวังไม่ให้น้ำในช้อนหกก่อนเข้าปาก
- นำช้อนและซุปเข้าปาก แทนที่จะทำให้หกรดคาง
- นำซุปออกจากช้อนเข้าสู่ปาก
(เราต้องมีความคงเส้นคงวา)

การนำความรู้ไปใช้

- จากที่ได้เรียนในครั้งนี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในวันข้างหน้าที่จะไปเรียนรู้เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย เราสามารถรับมือสิ่งที่จะเกิดขึ้นโดยไม่กลัว และกล้าที่จะเดินเข้าไปในการดูแลเด็กทุกคน

Evaluation 

Self : มีความตั้งใจในการรับรู้ข้อมูล แต่อาจมาสายนิดหน่อย แต่งกายเรียบร้อย มีการโต้ตอบคำถาม ตั้งใจทำกิจกรรมเป็นอย่างดี

Friends : แต่งกายเรียนร้อย สนใจในการเรียนรู้จากอาจารย์ผู้สอน มีการแลกเปลี่ยนความรู้จากเพื่อนแต่ละคน มีการแลกเปลี่ยนการวาดรูปมือของแต่ละคน

Teacher : มีการนำเทคนิคการสอนก่อนเข้าเนื้อหาด้วยการทำกิจกรรม เพื่อกระตุ้นผู้เรียนก่อนเข้าเรียน มีการยกตัวอย่างให้นักศึกษาเห็นชัดเจนมากยิ่งขึ้น อาจารย์ยังย้ำถึงเรื่องการแต่งกาย ตัวอาจารย์เองพูดจาน่ารัก แต่งกายสุภาพเรียบร้อยเหมาะสมมากๆค่ะ  By Namphu

Lesson 7

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
(Inclusive Education Experiences Mamagement for Early Childhood)
วัน พฤหัสบดี ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
เวลา 13:10 - 16:40 น.


MIDTERM




Lesson 6

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
(Inclusive Education Experiences Mamagement for Early Childhood)
วัน พฤหัสบดี ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
เวลา 13:10 - 16:40 น.

ความรู้ที่ได้รับ





การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

ทักษะทางสังคม
-    เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจาก พ่อแม่ !
- ทักษะของสังคมของเด็กพิเศษ ไม่ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม (ทักษะทางสังคมต้องปรับที่ตัวเด็ก)
การเล่น
-   ถ้ามุมที่หน้าเล่นแต่เด็กพิเศษไม่อยากเล่นเด็กก็จะไม่เล่น
-   การเล่นควรให้เด็กเล่นเป็นกลุ่ม
-   กลุ่มที่เด็กพิเศษกับเด็กปกติเล่นด้วยกันต้องมีจำนวน 2-4 คน เช่น เด็กพิเศษ1 คน + เด็กปกติ 3 คน (ต่อกิจกรรม) เด็กพิเศษจะเริ่มเรียนแบบเด็กปกติ เด็กจะเรียนแบบพฤติกรรม (เด็กปกติจะเหมือน ครู พี่ โดยอัตโนมัติ) 
-   การเล่น เช่น กิจกรรม กะบะทรายต้องค่อยๆทะยอยให้ของทีละชิ้น (ยืดการเล่น กับเพื่อนให้นานยิ่งขึ้น ) ให้ของเล่น ให้น้อยกว่าจำนวนเด็ก เช่น เด็กมีจำนวน 4 คน จะต้องให้ 2 เป็นต้น
-   ถ้าเด็กปกติเล่นของเล่นนานจนเกินไป ครูควรพูดบอกให้เด็กปกติแบ่งให้เด็กคนอื่นบ้าง แต่ถ้าไม่ยอม ครูต้องเปลี่ยนการพูดเป็นการเล่นเกมแทน เช่น อะเดี่ยวให้แต่ละคนตักทรายคน10 ครั้ง เป็นต้น
-    ถ้ามีเด็กพิเศษ คนหนึ่งอยู่ห่างจากกลุ่ม ที่เพื่อนยืนอยู่ (ครู จะต้องนำของเล่นไว้กับเด็กพิเศษและจูงมือเด็กพิเศษเดินเข้าไปในกลุ่มเด็กปกติ และพูดคำชักชวนแก่เด็กปกติ เช่น นี้เพื่อนๆน้องกระต่ายมีของเล่นมาด้วยเยอะแยะเลย)
-    ถ้าเด็กพิเศษเล่นอะไรไม่ได้ครูจะต้องประครองมือเด็กพิเศษเล่น เช่น ตีกลอง เป็นต้น
การบันทึก
-   สังเกต และบันทึก IEP ต้องรู้ละเอียด / พฤติกรรม / สิ่งที่ชอบ ไม่ชอบ / ลึกๆในบุคลิก
สิ่งที่ครูปฏิบัติขณะเด็กทำกิจกรรม
-   เมื่อเด็กทำกิจกรรมอยู่ ครูคอยดูและส่งยิ้ม 
คำต้องห้าม (ครูไม่ควรชมระหว่างที่เด็กทำงาน การชมเด็กขณะทำงาน จะทำให้สมาธิเด็กชงัก และเด็กจะเปลี่ยนความคิดของตนเองทันที)




กิจกรรมร้องเพลงให้ตรงตามจังหวะ


การนำความรู้ไปใช้

* สามารถนำเทคนิคการดูแลเด็กพิเศษ ที่ทำกิจกรรมกับเด็กปกติโดยไม่มีข้อขัดขวางทั้งสองฝ้ายให้ทำกิจกรรมและช่วยเหลือซึ่งกันและกันให้ห้องเรียนและนอกห้องเรียน
*  นำประสบการณ์จากการที่ได้รับความรู้ไปปรับใช้ให้เกิดประโยช์นเมื่อประสบสถาณการณ์ในการทำกิจกรรมของเด็กเราจะมีวิธีแก้ไขอย่างไรให้เหมาะสม
*  นำเสียงเพลงไปประกอบกิจกรรมเพื่อเชื่อมโยงกับกิจกรรม และพัฒนาอารมณ์ให้เด็กมีความสนุกสนานเพลิดเพลิน และผ่อนคลายจิตใจ


Evaluation 

Self : มีความตั้งใจในการรับความรู้ รับประสบการณ์จากอาจารย์ผู้สอน มีการตอบโต้ในคำถามที่อาจารย์ถาม แต่งกายสุภาพเรียบร้อย

Friends : ทุกคนพร้อมใจการตั้งใจรับความรู้ มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน แต่งกายสภาพเรียบร้อย

Teacher : ใส่ใจในการให้ความรู้ มีการยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นความจริงมากขึ้น จากที่อาจารย์ได้ประสบสถาณการณ์จริงมาก่อน เป็นตัวช่วยเป็นอย่างดี และมีการตั้งคำถามทบถวนเพื่อให้นักศึกษาจำและไปปฏิบัติได้จริงในวันหน้า

Lesson 5

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
(Inclusive Education Experiences Mamagement for Early Childhood)
วัน พฤหัสบดี ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
เวลา 13:10 - 16:40 น.


BIRTHDAY  SURPRISE   TEACHER









Lesson 4

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
(Inclusive Education Experiences Mamagement for Early Childhood)
วัน พฤหัสบดี ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
เวลา 13:10 - 16:40 น.

ความรู้ที่ได้รับ


*วาดภาพดอกลิลลี่จากนั้นเมื่อวาดภาพเสร็จให้สังเกตุภาพจากดอกลิลลี่แล้วคิดหรือนึกถึงสิ่งใด

บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม

สิ่งที่ครูปฐมวัยไม่ควรทำ
- ครูไม่ควรวินิจฉัย การตัดสินใจโดยดูอาการหรือสัญญาณบางอย่าง ดูอาการออกแล้วเก็บไว้คนเดียว
- ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก ห้ามตั้งฉายาให้เด็ก เช่น อีอ้วน ดำ เป็นต้น
- ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
สิ่งที่ครูปฐมวัยควรทำ
- สังเกตอย่างมีระบบ
- การตรวจสอบ จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น
- การบันทึกการสังเกต 3ประเภท
  - การนับอย่างง่ายๆ นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม กี่ครั้งในแต่ละวันในแต่ละชั่วโมง ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม
  - การบันทึกต่อเนื่อง เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง
  - การบันทึกไม่ต่อเนื่อง เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง
การตัดสินใจ
- คิดก่อนพูด
- ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
- วางแผนก่อนพูดกับผู้ปกครอง



*กิจกรรมท้ายสุดหัดร้องเพลงให้ตรงตามจังหวะ


การนำความรู้ไปใช้

*นำความรู้จากที่เรียนนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยช์นแก่เด็กปฐมวัยและผู้ปกครองควรทำอย่างไรให้ถูกวิธีและเหมาะสม
*นำหลักการร้องเพลงไปปรับใช้ในกิจกรรมเพื่อให้เด็กจำหรือปฏิบัติตามเพลง



Evaluation 

Self : มีความมั่นใจในการร้องเพลงการแสดงความคิดเห็น อาจจะมาสายบ้าง แต่งกายสุภาพเรียบร้อย

Friends : ตั้งใจในการรับความรู้จากอาจารย์ มีการทำกิจกรรมจากอาจารย์ผู้สอนเป็นอย่างดีจากที่อาจารย์มอบหมายงานให้

Teacher : มีรูปแบบการสอนที่หลากหลายหน้าสนใจ มีเพลงและกิจกรรมที่หลากหลาย มีการยกตัวอย่างที่ชัดเจน มีความเหมาะสมในการจัดการเรียนการสอน

Lesson 3

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
(Inclusive Education Experiences Mamagement for Early Childhood)
วัน พฤหัสบดี ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2558
เวลา 13:10 - 16:40 น.



For class Teacser

วันเสาร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2558

Lesson 2

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
(Inclusive Education Experiences Mamagement for Early Childhood)
วัน พฤหัสบดี ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2558
เวลา 13:10 - 16:40 น.

ความรู้ที่ได้รับ


* ฝึกร้องเพลงให้ตรงตามจังหวะอย่างถูกต้อง

การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
   รูปแบบการจัดการศึกษา
- การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
- การศึกษาพิเศษ (Special Education)
- การศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
- การศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
การศึกษาแบบเรียนร่วม
- การเรียนร่วมบางเวลา (Integration)
- การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming)
การศึกษาแบบเรียนรวม
- เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา และจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
- เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเรา

การนำความรู้ไปใช้

   * ได้รู้แนวทางการเรียนของแบบเรียนร่วมกับเรียนรวมมีความแตกต่างกันอย่างไรเพื่อนำปรับใช้ในการเรียน และการพัฒนาเด็กพิเศษอย่างถูกต้องและเหมาะสมต่อไป
   * ได้นำเทคนิคการร้องเพลงให้ได้ตรงตามจังหวะที่น่าฟังและนิ่มนวลมากขึ้นเพื่อจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กปฐมวัยและเด็กพิเศษ


Evaluation 

Self : มีการตอบโต้กับคำถามที่อาจารย์ถาม มีความสนใจในการรับรู้ความรู้เกี่ยวกับการเรียนร่วมและการเรียนรวม  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย

Friends : มีความพร้อมต่อการรับความรู้จากอาจารย์ผู้สอน มีความร่วมมือในการตอบคำถามจากอาจารย์ผู้สอน 

Teacher : มีความสนใจในการให้ความรู้แก่นักศึกษา มีรูปแบบการตั้งคำถามเพื่อให้นักศึกษาสามารถจดจำได้เป็นอย่างดี และสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้จริงในวันข้างหน้าต่อไป