วันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2558

Lesson 6

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
(Inclusive Education Experiences Mamagement for Early Childhood)
วัน พฤหัสบดี ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
เวลา 13:10 - 16:40 น.

ความรู้ที่ได้รับ





การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

ทักษะทางสังคม
-    เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจาก พ่อแม่ !
- ทักษะของสังคมของเด็กพิเศษ ไม่ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม (ทักษะทางสังคมต้องปรับที่ตัวเด็ก)
การเล่น
-   ถ้ามุมที่หน้าเล่นแต่เด็กพิเศษไม่อยากเล่นเด็กก็จะไม่เล่น
-   การเล่นควรให้เด็กเล่นเป็นกลุ่ม
-   กลุ่มที่เด็กพิเศษกับเด็กปกติเล่นด้วยกันต้องมีจำนวน 2-4 คน เช่น เด็กพิเศษ1 คน + เด็กปกติ 3 คน (ต่อกิจกรรม) เด็กพิเศษจะเริ่มเรียนแบบเด็กปกติ เด็กจะเรียนแบบพฤติกรรม (เด็กปกติจะเหมือน ครู พี่ โดยอัตโนมัติ) 
-   การเล่น เช่น กิจกรรม กะบะทรายต้องค่อยๆทะยอยให้ของทีละชิ้น (ยืดการเล่น กับเพื่อนให้นานยิ่งขึ้น ) ให้ของเล่น ให้น้อยกว่าจำนวนเด็ก เช่น เด็กมีจำนวน 4 คน จะต้องให้ 2 เป็นต้น
-   ถ้าเด็กปกติเล่นของเล่นนานจนเกินไป ครูควรพูดบอกให้เด็กปกติแบ่งให้เด็กคนอื่นบ้าง แต่ถ้าไม่ยอม ครูต้องเปลี่ยนการพูดเป็นการเล่นเกมแทน เช่น อะเดี่ยวให้แต่ละคนตักทรายคน10 ครั้ง เป็นต้น
-    ถ้ามีเด็กพิเศษ คนหนึ่งอยู่ห่างจากกลุ่ม ที่เพื่อนยืนอยู่ (ครู จะต้องนำของเล่นไว้กับเด็กพิเศษและจูงมือเด็กพิเศษเดินเข้าไปในกลุ่มเด็กปกติ และพูดคำชักชวนแก่เด็กปกติ เช่น นี้เพื่อนๆน้องกระต่ายมีของเล่นมาด้วยเยอะแยะเลย)
-    ถ้าเด็กพิเศษเล่นอะไรไม่ได้ครูจะต้องประครองมือเด็กพิเศษเล่น เช่น ตีกลอง เป็นต้น
การบันทึก
-   สังเกต และบันทึก IEP ต้องรู้ละเอียด / พฤติกรรม / สิ่งที่ชอบ ไม่ชอบ / ลึกๆในบุคลิก
สิ่งที่ครูปฏิบัติขณะเด็กทำกิจกรรม
-   เมื่อเด็กทำกิจกรรมอยู่ ครูคอยดูและส่งยิ้ม 
คำต้องห้าม (ครูไม่ควรชมระหว่างที่เด็กทำงาน การชมเด็กขณะทำงาน จะทำให้สมาธิเด็กชงัก และเด็กจะเปลี่ยนความคิดของตนเองทันที)




กิจกรรมร้องเพลงให้ตรงตามจังหวะ


การนำความรู้ไปใช้

* สามารถนำเทคนิคการดูแลเด็กพิเศษ ที่ทำกิจกรรมกับเด็กปกติโดยไม่มีข้อขัดขวางทั้งสองฝ้ายให้ทำกิจกรรมและช่วยเหลือซึ่งกันและกันให้ห้องเรียนและนอกห้องเรียน
*  นำประสบการณ์จากการที่ได้รับความรู้ไปปรับใช้ให้เกิดประโยช์นเมื่อประสบสถาณการณ์ในการทำกิจกรรมของเด็กเราจะมีวิธีแก้ไขอย่างไรให้เหมาะสม
*  นำเสียงเพลงไปประกอบกิจกรรมเพื่อเชื่อมโยงกับกิจกรรม และพัฒนาอารมณ์ให้เด็กมีความสนุกสนานเพลิดเพลิน และผ่อนคลายจิตใจ


Evaluation 

Self : มีความตั้งใจในการรับความรู้ รับประสบการณ์จากอาจารย์ผู้สอน มีการตอบโต้ในคำถามที่อาจารย์ถาม แต่งกายสุภาพเรียบร้อย

Friends : ทุกคนพร้อมใจการตั้งใจรับความรู้ มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน แต่งกายสภาพเรียบร้อย

Teacher : ใส่ใจในการให้ความรู้ มีการยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นความจริงมากขึ้น จากที่อาจารย์ได้ประสบสถาณการณ์จริงมาก่อน เป็นตัวช่วยเป็นอย่างดี และมีการตั้งคำถามทบถวนเพื่อให้นักศึกษาจำและไปปฏิบัติได้จริงในวันหน้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น