วันเสาร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

Lesson 14

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
(Inclusive Education Experiences Mamagement for Early Childhood)
วัน พฤหัสบดี ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558
เวลา 13:10 - 16:40 น.



ความรู้ที่ได้รับ

จากวันนี้ที่ได้เรียนเป็นคาบสุดท้ายในวิชานี้ อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแต่ละคนจับฉลากเพื่อที่จะร้องเพลง ทบทวนจากที่ได้ร้องเพลง มาจากคาบแรกๆ เพื่อที่จะออกไปจัดกิจกรรมให้แก่เด็กๆปฐมวัย/เด็กพิเศษ




การนำความรู้ไปใช้   
    
    สามารถนำเพลงที่ได้ร้องไปจัดกิจกรรมให้แก่เด็กอย่างเหมาะสม เพื่อเด็กจะได้สนุกกับกิจกรรมมากขึ้น


Evaluation

 Self : ตื่นเต้นที่จะได้จับฉลากร้องเพลง การแต่งกายสุภาพเรียบร้อย 

Friends: แต่ละคนเตรียมซ้อมร้องเพลงเพราะต้องจับฉลากในเพลงที่ตัวเองอาจจะร้องไม่ถนัด

Teacher : อาจารย์ทำหน้านิ่ง ยิ้ม เพราะเห็นหน้านักศึกษาแต่ละคนตื่นเต้น 

Lesson 13

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
(Inclusive Education Experiences Mamagement for Early Childhood)
วัน พฤหัสบดี ที่  23 เมษายน พ.ศ. 2558
เวลา 13:10 - 16:40 น.



ความรู้ที่ได้รับ



   โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล
(Individualized Education Program)

   แผน IEP
* แผนการศึกษาที่ร้างขึ้น
* เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอนและการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เพมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
* ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
* โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก

   การเขียนแผน IEP
* คัดแยกเด็กพิเศษ
* ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
* ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดใหนในทักษะใด
* เด็กสามารถทำอะไรได้ / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
* แล้วจึงเริ่งเขียนแผน IEP

   IEP ประกอบด้วย
* ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
* ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
* การระบุความสามารถของเด็กในปัจจับัน
* เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
* ระบุ วัน/เดือน/ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
* วิธีการประเมินผล

    ประโยชน์ต่อเด็ก
* ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
* ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
* ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
* ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ

    ประโยชน์ต่อครู
* เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
* เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอน
* ปรับเปลี่ยนเมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
* เป็นแนวทางในการประเมินผล
* ตรวจสอบและประเมินผลเป็นระยะ
  
    ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
* ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนรายบุคคล
* ทราบไปพร้อมกับครูที่จะฝึกลูกของตนไปได้อย่างไร
* เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก

   ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
   1.การรวบรวมข้อมูล
* รายงานทางการแพทย์
* รายงานการประเมินด้านต่างๆ
* บันทึกจากผู้ปกครอง

   2.การจัดทำแผน
* ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
* กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาว และระยะสั้น 
* กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
* จะต้องได้รับการรับรองจากสถานศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

  กำหนดจุดมุ่งหมาย
* ระยะยาว
* ระยะสั้น

  จุดมุ่งหมายระยะยาว
* กำหนดให้ชัดเจน 
   - น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
   - น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
   - น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้

  จุดมุ่งหมายระยะสั้น
* ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
* เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
* จะสอนใคร
* พฤติกรรมอะไร
* เมื่อไหร่ ที่ใหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
* พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดใหน

   3.การใช้แผน
* เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
* นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
* แยกย้อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
* จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

การนำความความรู้ไปใช้
     
     นำความรู้ที่เรียนในวันนี้ไปเขียนแผน IEP ให้แก่เด็กปฐมวัย รู้หลักการเขียนแผนอย่างถูกต้อง และควรเน้นสิ่งสำคัญอย่างไรบ้าง ทำอย่างไรจึงจะถูกต้อง

Evaluation

 Self : มีการโต้ตอบกับคำถามที่สงสัยกับอาจารย์ ตั้งใจที่จะรับความรู้ การเขียนแผน IEP การแต่งกายสุภาพเรียบร้อย 

Friends: เพื่อนๆแต่ละคนแบ่งกลุ่มกันเขียนแผนทุกต่างตั้งใจที่จะเขียนแผนมีการระดมความคิดของแต่ละคน จึงทำให้แผนเขียนเสร็จสมบูรณ์ไปได้ด้วยดี 

Teacher : อาจารย์หัดให้นักศึกษาเขียนแผนเพื่อที่วันข้างหน้าทุกคนจะต้องเขียน และอาจารย์ยังแนะนำข้อมูลเพิ่มเติมเยอะแยะมากมาย อาขารย์เดินเข้าดูแต่ละกลุ่มเข้าถึงตัวเลย

Lesson 12

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
(Inclusive Education Experiences Mamagement for Early Childhood)
วัน พฤหัสบดี ที่  9 เมษายน พ.ศ. 2558
เวลา 13:10 - 16:40 น.



ความรู้ที่ได้รับ

 ทักษะพื้นฐานทางการเรียน

เป้าหมาย
 * การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้  
 * มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
 * เด็กรู้สึกว่า “ฉันทำได้”
 * พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
 * อยากสำรวจ อยากทดลอง

ช่วงความสนใจ
 * ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
 * จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร

 การเลียนแบบ
การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
* เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
* เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่ 
* คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่

การรับรู้ การเคลื่อนไหว
* ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น 
* ตอบสนองอย่างเหมาะสม

ความจำ
* จากการสนทนา
* เมื่อเช้าหนูทานอะไร
* แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
* จำตัวละครในนิทาน
* จำชื่อครู เพื่อน
* เล่นเกมทายของที่หายไป

                                                                  ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์





การนำความรู้ไปใช้

   จากทักษะที่เรียนในวันนี้สามารถนำความรู็นี้ไปปรับใช้ให้แก่เด็กปฐมวัย การจัดประสบการณ์ การแก้ปัญหา ให้ถูกต้องเพมาะสม

Evaluation

 Self : ตั้งใจในการรับรู้เนื้อหาที่เรียน  พูดจาอาจจะไม่เพราะบ้าง  อาจมาสายบ้าง 

Friends: ทุกคนต่างตั้งใจรับความรู้มีการเเลกเปลี่ยนประสบการณ์

Teacher : มีเทคนิคการสอนที่ดี พูดจาสุภาพ เข้าถึงตัวนักศึกษามีการทบทวนความรู้ให้แก่นักศึกษา

Lesson 11

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
(Inclusive Education Experiences Mamagement for Early Childhood)
วัน พฤหัสบดี ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2558
เวลา 13:10 - 16:40 น.


ความรู้ที่ได้รับ





ในวันนี้เป็นการสอบเก็บคะแนน คือ การทบทวนบทเรียนที่เรียนมาในคาบต้นๆ เพื่อที่จะได้รู้ว่าจากที่ผ่านมานั้นได้เรียนไปแล้วนักศึกษาได้กลับไปทบทวนเนื้อหาบ้างหรือไม่ เพราะหากทบทวนก็จะสามารถตอบได้เป็นอย่างดี และสามารถนำไปปฏิบัติอย่างไรจึงจะเหมาะสมแก่เด็กปฐมวัย/เด็กพิเศษ


การนำความรู้ไปใช้

  ความรู้จากการที่ได้เรียนไปนั้นสามารถนำไปใช้แก่การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย/เด็กพิเศษ รู้หลักการดูแลการย้อยงาน การแก้ไขปัญหาให้แก่เด็ก ให้เด็กสามารถดำเนินชีวิตด้วยตนเอง การจัดกิจกรรม การทำบทบาทสมมุติ อย่างถูกวิธี

Evaluation

 Self : ตื่นเต้นแต่ก็เตรียมความพร้อมที่จะสอบเก็บคะแนนเพื่อทบทวนเนื้อหาได้เรียนไปคาบแรกๆ การแต่งกายสุภาพเรียบร้อย

Friends: ตื่นเต้นจนมองจากสีหน้าก็ดูออก แต่ทุกคนก็ตั้งใจทำข้อสอบเป็นอย่างดี การแต่งการถูกระเบียบเรียบร้อยน่ารัก เหมาะสม

Teacher : อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่ดีมี รปูแบบการให้ความรู้หลายรูปแบบ มีการยกตัวอย่างให้นักศึกษาเห็นเข้าใจอย่างชัดเจน

Lesson 10



วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
(Inclusive Education Experiences Mamagement for Early Childhood)
วัน พฤหัสบดี ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2558
เวลา 13:10 - 16:40 น.


ความรู้ที่ได้รับ


ก่อนเข้าสู่เนื้อหาอาจารย์มีกิจกรรม(เกม) เพื่อเรียกสมาธิให้เข้ามาอยู่ในห้องเรียน สนใจ รับรู้  เนื้อหาที่จะเรียนในวันนี้

เนื้อหา

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
  การดำรงชีวิตโดยอิสระ หรือการช่วยเหลือตนเอง
* การกินอยู่
* การเข้าห้องน้ำ
* การแต่งตัว
* กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน

การสร้างความอิสระ
* เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
* อยากทำงานตามความสามารถ
* เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่าและผู้ใหญ่

หัดให้เด็กทำเอง
* ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)
* ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
* ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
* "หนูทำช้า"  "หนูยังทำไม่ได้"

จะช่วยเมื่อไหร่
* เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร,หงุดหงิด,เบื่อ,ไม่ค่อยสบาย
* หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
* เด็กรุ้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
* มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม

ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
* แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
* เรียงลำดับตามขั้นตอน

การวางแผนทีละขั้น
* แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด




กิจกรรมท้ายคาบ (เด็กพิเศษ)

กิจกรรมนี้ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กพิเศษเด็กพิเศษจะได้เรียนรู้เรื่องของการฝึกสมาธิการควบคุมตนเองขณะทำงานของตนเอง การทำงานร่วมกับผู้อื่น 




ทายสีจากภาพ

                    * สีเขียว = เป็นคนชอบความเงียบ
 * สีดำ = มีปมอยู่ในใจ
  * สีส้ม = สดชื่นแจ่มใส
* สีชมพู = อ่อนหวาน
     * สีเหลือง = สดใสร่าเริง
   * สีน้ำตาล = เงียบ ขรึม

ขนาดวงกลม

              วงเล็ก = พอใจในสิ่งที่ตนเองมี
    วงใหญ่ = ทะเยอทะยาน


การนำความรู้ไปใช้

จากความรู้ที่เรียนในวันนี้สามารถนำไปต่อยอดให้แก่ตัวดิฉันเองและตัวเด็กปฐมวัย/เด็กพิเศษ คือการจัดกิจกรรมที่จัดให้เหมาะสม รู้หลักการจัด การส่งเสริมสิ่งที่ขาดหาย / สิ่งที่ควรส่งเสริมต่อไป ให้แก่ตัวเด็ก การเรียนรู้ที่เด็กจะต้องเรียนรู้ตัวเด็กนั้นต้องคิดอยากเรียนรู้ ตื่นตัว ดิฉันเองจึงต้องนำประสบการณ์ในวันนี้ไปพัฒนาให้แก่ตัวเด็กให้ดีกว่าเดิม

Evaluation

 Self : มีความตั้งใจในการรับรู้ที่จะรับเนื้อหากิจกรรม การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในห้องเรียนและจากอาจารย์  ในตัวดิฉันเองก็รู้ตัวว่าตัวเองชอบมาสาย ไม่ค่อยเพื่อเวลาที่จะเดินทาง

Friends:เพื่อนในห้องเรียนเป็นเพื่อนที่น่ารักกันทุกคนและทุกคนสามารถที่จะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกันได้เป็นอย่างดี

Teacher : อาจารย์ผู้สอนนั้นมีการเตรียมตัวที่จะมามอบความรู้ ประสบการณ์ ให้แก่นักศึกษา มีรูปแบบการสอนที่ทำให้นักศึกษาตื่นตัวก่อนเข้าสู่เนื้อหาที่แท้จริงในวิชานี้การแต่งกายของอาจารย์นั้นเป็นแบบอย่างที่ดีของลูกศิษย์ในอนาคตที่จะไปเป็นคุณครู

วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

Lesson 9

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
(Inclusive Education Experiences Mamagement for Early Childhood)
วัน พฤหัสบดี ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2558
เวลา 13:10 - 16:40 น.

ความรู้ที่ได้รับ

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
ทักษะภาษาพูด
- ภาษาธรรมชาติ = สิ่งที่อยู่รอบตัว เราเน้น ซ้ำ ย้ำ ทวน เช่น ในห้องเรียน มีรูป และภาษาที่เป็นธรรมชาติ อยู่รอบตัว ของเด็กๆ
การวัดความสามารถทางภาษา
- ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
- ถามหาสิ่งต่างๆไหม
- บอกเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไหม
- ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม
การออกเสียงผิด/พูดไม่ชัด
- การพูดตกหล่น
- การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
- ติดอ่าง
การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
-ห้ามบอกเด็กว่า (พูดช้าๆ) (ตามสบาย) (คิดก่อนพูด)
- ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
- เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
- อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
- อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
- ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
ทักษะพื้นฐานทางภาษา
- ทักษะการรับรู้ภาษา
- การแสดงออกทางภาษา
- การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด




กิจกรรมท้ายคาบ (เด็กพิเศษ)






การนำความรู้ไปใช้

* จากที่ได้รับความรู้ในวันนี้สามารถนำทักษะการเรียนรู้นำไปฝึกหรือจัดประสบการณ์ให้เหมาะสมแก่เด็กปฐมวัย / เด็กพิเศษเพื่อส่งเสริมพัฒนาการให้ดียิ่งขึ้นต่อไป 

Evaluation

Self : มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมกับเพื่อนในห้อง การรู้จักตนเอง การตอบคำถาม และความสามัคคี การแต่งกายสุภาพเรียบร้อย แต่ชอบพูดเสียงดัง

Friends : ทุกคนต่างตั้งใจทำกิจกรรม มีการแลกเปลี่ยนความคิด อารมณ์ในห้องเรียนแจ่มใสครื้นเครง การแต่งกายก็สุภาพเรียบร้อยน่ารักเหมาะสมกับเป็นนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย

Teacher : อาจารย์ผู้สอนก็เป็นกันเองกับนักศึกษาในห้องเรียน การพูดจาและการแต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีการเตรียมเนื้อหาที่จะมามอบให้นักศึกษาเป็นอย่างดี